9 ก.พ. 2555

สื่อการเรียนการสอน

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน

       สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น


สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร        สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน        1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
       1.1วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
       1.2วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
       2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น
เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง
เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย
       3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ 

                                             
                                                  

คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน       1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
       2.ขจัดปัญหาเกียวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
       3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
       4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
       5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
       6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
       7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
       8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม

ระบบสื่อการศึกษา        นับตั้งแต่มนุษย์ได้รู้จักนำเอาสื่อ (media) มาใช้ในการสื่อความหมายก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมา จากสื่อที่ใช้สัญลักษณ์ รูป มาจนถึงสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ โดยธรรมชาติแล้วสื่อแต่ละประเภทจะมีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง เพียงแต่ว่าผู้ผลิตและผู้ใช้จะสามารถดึงเอาคุณค่านั้นมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด สื่อใดก็ตามถ้าได้มีการวางแผนดำเนินการผลิตการใช้ อย่างมีระบบ ย่อมเกิดประโยชน์ทางการศึกษา ตามจุดมุงหมายที่วางไว้ วิธีการระบบสามารถนำมาใช้กับกระบวนการสื่อได้ทุกกระบวนการเช่น การเลือก การผลิต การใช้เป็นต้น

ในการเลือกสื่อด้วยวิธีระบบนั้น กูดแมน ได้เสนอวิธีการเลือกไว้ตามลำดับดังนี้        1.พิจารณาดูว่าในจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมได้กำหนดให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมโดยการดู การฟัง หรือการกระทำ
       2.พิจารณาดูคุณลักษณะของผู้เรียน (อายุ ระดับชั้น ระดับสติปัญญา พัฒนาการทางการอ่านลักษณะทางร่างกาย พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น ) จะบ่งบอกได้ว่าสามารถใช้สื่อกับเด็กคนนั้นหรือกลุ่มนั้นได้บ้าง
       3.พิจารณาดูว่ามีสื่ออะไรบ้าง ที่จะสามารถนำมาใช้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ และใช้กับกลุ่มผู้เรียนที่มีลักษณะตามที่ต้องการดังกล่าวแล้วจะเกิดประโยชน์สูงสุด
       4.พิจารณาวิธีการนำเสนอที่จะใช้ได้อย่างเหมาะสม และในการนำเสนอนั้นมีสื่ออะไรบ้าง จะต้องเตรียมเครื่องมือประเภทใดในการนำเสนอครั้งนั้น
       5.นำเสนอเครื่องมือ โดยการสำรวจดูว่าเครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษาที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการเรียนครั้งนี้ที่มีอยู่ในสถานศึกษาหรือไม่ ถ้าไม่มีจะซื้อหรือหามาด้วยวิธีใด
       6.การวิเคราะห์สื่อและสำรวจสื่อที่ต้องการ โดยการวิเคราะห์สื่อในสถานศึกษาว่ามีอะไรบ้างที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนเนื้อหานั้น ๆ ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้
       7.วิเคราะห์ขีดความสามารถของหน่วยงานผลิตสื่อที่ไม่ให้บริการหรือไม่มีขายได้หรือไม่ ถ้าผลิตเองได้ต้องวิเคราะห์ต่อไปอีกว่ามีงบประมาณที่จะใช้ในการผลิตหรือไม่และได้มาจากไหน
       8.พิจารณาดูว่าสื่อต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้กับวิธีการนำเสนอนั้น ๆ มีความเหมาะสมทั้งในแง่คุณภาพและราคาเพียงใดแล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญสำหรับการเลือก
       9.เลือกวิธีการและสื่อที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเลือกตัวเลือกที่มีคุณภาพ และราคาเหมาะสม
       10.เลือกสื่อหรือผลิตสื่อที่ต้องการ ในขั้นนี้ ผู้ใช้จะได้สื่อที่ต้องการ แต่ถ้าสื่อนั้นไม่มีจะนำไปผลิตต้วยวิธีการระบบ
จะเห็นได้ว่า ในกระบวนการใช้วิธีการระบบในการเลือกสื่อ จะมีขั้นตอนที่ผูกพันกับการผลิตสื่ออยู่ด้วย

การเลือกและจัดหาสื่อการเรียนการสอน
      
      ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุงหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอนลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอำนวยความสดวกที่มีอยู่นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการเรียนการสอน

<ย่อหน่า>การกำหนกขั้นตอนในการเลือกสื่อการเรียการสอนได้กำหนดขั้นตอนในการเลือกไว้ 6 ขั้น สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาสื่อได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ของผู้เรียนกับการเลือกสื่อการเรียนการสอน

         ขอบคุณที่มา:http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=5&group_id=23&article_id=194

8 ก.พ. 2555

ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมทางการศึกษา

“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator)    (boonpan edt01.htm)

ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

 ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

“นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ความหมายของเทคโนโลยี
     ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า “วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี” (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)
ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)

นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ “โสตทัศนศึกษา” นั่นเอง
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก

                              ขอบคุณข้อมูลจาก:http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm

การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบออปเจ็กกับเทคโนโลยีเว็บ

อินเทอร์เน็ตเป็นตัวอย่างของความสำเร็จของเทคโนโลยีที่ได้รับการขานรับจากทั่วโลก ปัจจุบันการเติบโตของอินเทอร์เน็ตได้ครอบคลุมทั่วทั้งโลก และเชื่อมโยงกันจนกลายเป็นถนนของข้อมูลข่าวสารที่เป็นเสมือนใยแมงมุมคลุมทุกหนทุกแห่งไว้หมด
 
ในที่สุดทุกคนบนพื้นโลกจะใช้ข้อมูลข่าวสาร และรับส่งข่าวสารผ่านเครือข่ายนี้ โดยมีเพียง พีซีเครื่องหนึ่งกับซอฟต์แวร์ที่เรียกว่าบราวเซอร์ก็ทำให้สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย ภายในองค์กรก็มีการเชื่อมโยงกลุ่มทำงานที่เรียกว่าเวิร์กกรุปเข้าด้วยกัน และเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตในที่สุด
          
เมื่อเป็นเช่นนี้การแสดงภาพขององค์กรหรือบุคคลบนเครือข่ายจึงใช้สัญญลักษณ์ที่เรียกว่าโฮมเพ็จ หรือสถานีบริการที่นำข้อมูลข่าวสารมาวางไว้ เพื่อเป็นตัวแทนองค์กรหรือบุคคล
กล่าวกันว่า การทำงานทุกอย่างในยุคต่อจากนี้ไปจะใช้เทคโนโลยีเว็บนี้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอ สภาพการทำงานหลายอย่างจะเปลี่ยนลักษณะและบทบาทที่เคยเป็น การดำเนินงานจึงต้องหันมาสร้างประโยชน์บนเว็บนี้ให้มากที่สุด
ลองนึกดูว่า สถาปนิกสามารถออกแบบบ้านบนเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงบนเว็บ สามารถส่งต่อให้กับลูกค้าได้ชม โดยมีโปรแกรมสมมุติที่จะดูรูปแบบได้เหมือนจริง และยังส่งให้วิศวกรคำนวณโครงสร้าง ประเมินราคา หากไม่พอใจบางส่วนก็ปรับแต่งแก้ไขบนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกันได้
การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมก็ใช้โปรแกรมพวก CAD - Computer Aided Design เมื่อออกแบบเสร็จก็เชื่อมโยงผ่านเครือข่าย เพื่อส่งต่อส่วนการผลิตหรือตรวจสอบต่าง ๆ การผลิตก็ใช้โปรแกรมประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต ที่เรียกว่า CAM - Computer Aided Manufacturing เครื่องจักรส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมและเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย ทำให้การใช้วัตถุดิบที่เชื่อมโยงไปยังบริษัทผู้ขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การเกี่ยวโยงยังครอบคลุมถึงการควบคุมสินค้าคงคลังและฝ่ายบัญชีของบริษัท
การค้าขายที่เรียกว่า อีคอมเมิร์ช (Ecommerce) จะเข้ามามีบทบาทต่อการค้ายุคใหม่ การทำงานภายในสำนักงานจะมีการสร้างกลุ่มงานที่ทำงานร่วมกัน โดยอาศัยเครือข่ายเป็นตัวเชื่อมโยง การค้าขายบนเครือข่ายทำให้เป้าหมายของลูกค้ากว้างไกลออกไปอีกมาก การนำเสนอสินค้าที่อยู่ในรูปของโฮมเพ็จจะมีการพัฒนาให้ก้าวหน้าไปอีกมาก ในยุคต่อจากนี้ การนำเสนอบนอินเทอร์เน็ตจะพึ่งพาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และการแสดงที่มีลักษณะสมจริงมากขึ้น

กล่าวกันว่าในอนาคต ถ้าเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขัดข้องหรือล้มเหลวลง จะทำให้กิจการการทำงานหลายอย่างมีปัญหาและอาจจะเป็นความโกลาหลได้ การสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบที่ใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลจะหยุดชงัก จนมีผู้พูดติดตลกว่า เงินเดือนอาจจะไม่สามารถจ่ายได้ เพราะระบบโปรแกรมเงินเดือนที่ทำงานร่วมกันอยู่บนเว็บไม่สามารถรับข้อมูลมาประมวลผลได้หมด
เทคโนโลยีเว็บจึงประกอบด้วยตัวเทคโนโลยีสองส่วน ส่วนหนึ่งคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ต้องพัฒนาให้ถนนของข้อมูลข่าวสารมีขนาดกว้างและรวดเร็วมากขึ้น การเชื่อมโยงติดต่อถึงกันเป็นเครือข่ายของโลก มีระบบการดูแลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ดีขึ้น เทคโนโลยีอีกส่วนหนึ่งคือเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ ปัจจุบันมีการพัฒนาในรูปแบบแนวทางการพัฒนาเชิงวัตถุ หรือที่เรียกว่า ออปเจ็ก โอเรียนเต็ด (Object Oriented) ทำให้ซอฟต์แวร์บนเครือข่ายมีลักษณะเป็นรูปธรรม ผู้ใช้งานใช้เพียงบราวเซอร์หรือสถานีปลายทาง แต่สามารถเรียกซอฟต์แวร์จากเชิร์ฟเวอร์ให้มาทำงานบนเครื่องของตนเองได้ การพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงวัตถุแบบกระจายจะเป็นหนทางที่ทำให้ความซับซ้อนของระบบงานเป็นไปได้อีกมาก การทำงานร่วมกันบนเครือข่ายจะอาศัยซอฟต์แวร์ที่เป็นออปเจ็ก กระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ ซอฟต์แวร์แบบออปเจ็กเหล่านี้สร้างการประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ ได้อีกมากมายมหาศาล
ทั้งเทคโนโลยีเครือข่ายและเทคโนโลยีซอฟต์แวร์เชิงวัตถุ เป็นแนวคิดแนวใหม่ที่จะทำให้เทคโนโลยีเว็บเดินหน้าไปได้อีกมาก ดังตัวอย่างเช่น สถาปนิกออกแบบชิ้นงานและนำเสนอไว้บนเชิร์ฟเวอร์ ผู้เรียกดูสามารถนำชิ้นงานมาทำงานบนเครื่องของตนเอง จนสามารถดูผลงานเป็นภาพแบบสามมิติ โปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอผลงานก็เป็นโปรแกรมที่กระจายอยู่ในเชิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ที่เรียกเข้ามาใช้งานร่วมกัน
ณ วันนี้การพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงวัตถุบนเครือข่ายยังเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ดังเราจะเห็นแนวทางของการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเว็บที่ใช้ภาษาจาวา ภาษาจาวามีแนวทางของการสร้างซอฟต์แวร์แบบเชิงวัตถุ ที่ผู้ใช้สามารถเรียกรหัสจาวามาทำงาน หรือดำเนินการที่เครื่องของตนเอง มีการทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรที่เครื่องมากมายนัก
ความคิดของการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเครือข่ายในรูปแบบเว็บจึงต้องเปลี่ยนแนวคิดจากเดิมไป เพราะจากเดิมให้ซอฟต์แวร์อยู่ที่เครื่องหลัก ผู้ใช้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายไปเรียกใช้ แต่ต่อมามีแนวคิดในการทำงานแบบไคลแอนต์และเชิร์ฟเวอร์ อินเทอร์เน็ตในยุคแรกใช้แบบไคลแอนต์และเชิร์ฟเวอร์เป็นหลัก ดังเราจะเห็นได้จากตัวอย่างของการประยุกต์บน WWW ที่แพร่หลายในรูปโฮมเพ็จบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมบราวเซอร์เป็นโปรแกรมแบบไคลแอนต์ และทาง www เชิร์ฟเวอร์มีโปรแกรมจัดการเว็บ ครั้นเมื่อสร้างซอฟต์แวร์ในรูปแบบเชิงวัตถุ หรือเป็นออปเจ็กมากขึ้น การทำงานบนเครือข่ายจึงมีลักษณะการเรียกซอฟต์แวร์แบบออปเจ็กมาทำงานร่วมกันด้วย แทนที่จะเรียกเฉพาะข้อมูล เหมือนเช่นการใช้งานเปิดข้อมูลโฮมเพ็จทั่วไป
ลักษณะเด่นของซอฟต์แวร์เชิงวัตถุคือ แต่ละออปเจ็กของซอฟต์แวร์มีลักษณะอิสระ โดยซ่อนส่วนที่เป็นกระบวนการทำงานและข้อมูลไว้ภายใน การติดต่อระหว่างออปเจ็กใช้ระบบสื่อสาร โดยส่งสัญญาณกระตุ้นการทำงานของออปเจ็ก ดังนั้นซอฟต์แวร์เชิงวัตถุจึงเป็นซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานบนเครือข่าย เพราะสามารถกระจายออปเจ็กและส่งออปเจ็กไปทำงานที่ใดก็ได้
เทคโนโลยีเว็บจึงเป็นเทคโนโลยีที่จะปรับเปลี่ยนไปหมด การดำเนินงานทางธุรกิจทั่วไปภายในองค์กรและระหว่างองค์กรจะต้องเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ที่เชื่อมโยงกันและทำงานร่วมกัน การพัฒนาธุรกิจบนพื้นฐานของเทคโนโลยีเว็บจึงเป็นสิ่งที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์แนวใหม่นี้ไม่ได้
ก็อยากจะเน้นให้เห็นว่า ไม่ว่าเครือข่ายจะพัฒนาทางฮาร์ดแวร์ไปมากมายเพียงไร การประยุกต์ใช้งานที่ได้ผลดียังขึ้นกับการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเครือข่าย แนวทางของการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นออปเจ็ก เหมือนวัตถุ และยังวางกระจายกันบนเครือข่ายที่สามารถเรียกมาใช้งานร่วมกันเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง เพราะบนเครือข่ายไม่ใช่เป็นถนนของข้อมูลอย่างเดียว ยังเป็นถนนของโปรแกรมที่มีลักษณะเป็นออปเจ็กที่จะวิ่งมาร่วมกันทำงานบนเครื่องใดเครื่องหนึ่ง หรือให้หลาย ๆ เครือข่ายช่วยกันทำงานตามฟังก์ชันที่กำหนด
การดำเนินการทางธุรกิจจึงต้องพึ่งซอฟต์แวร์แนวใหม่นี้ เพื่อทำให้การทำงานบนเครือข่ายมีลักษณะสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

6 ก.พ. 2555

ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย ข อ ง เ ค รื อ ข่ า ย

        ในโลกแห่งอุดมคติ ผู้ใช้เครือข่ายไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครเข้ามาลักลอบใช้บัญชีโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือผู้ดูแลระบบไม่ต้องตรวจจับว่าเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการมีผู้เข้ามาก่อกวนระบบหรือทำลายข้อมูล และบริษัทที่ประกอบธุรกิจไม่ต้องติดตั้งระบบป้องกันภัย เพราะจะไม่มีผู้ลักลอบเข้ามานำข้อมูลทางการค้าที่สำคัญนำไปให้กับบริษัทคู่แข่ง แต่ทว่าในโลกแห่งความเป็นจริงอย่างเช่น อินเทอร์เน็ตนั้น



การบุกรุก ก่อกวน ลักลอบใช้ และทำลายระบบเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวันของสังคมเครือข่าย และหลายต่อหลายครั้งที่เป็นกรณีใหญ่ที่สร้างความเสียหายเข้าขั้นอาชญากรรมทางเครือข่าย ไม่มีใครทราบอย่างแน่ชัดว่ามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกเป็นจำนวนเท่าใด นอกจากจะคาดประมาณไว้ว่าน่าจะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ราว 100 ล้านคนใช้งานโฮลต์ที่ต่อเชื่อมอยู่ราว 10 ล้านเครื่องในเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันนับแสนเครือข่าย สังคมซึ่งเป็นที่รวมของผู้คนจำนวนมากเช่นอินเตอร์เน็ตนี้ย่อมมีผู้คนส่วนหนึ่งที่เป็นนักสร้างปัญหา และก่อกวนสร้างความเสียหายให้ระบบ นับตั้งแต่มือสมัครเล่นที่ทำเพื่อความสนุกไปจนกระทั่งถึงระดับอาชญากรมืออาชีพ



ปรัชญาความปลอดภัยในอินเทอร์เน็ต

          อินเทอร์เน็ตมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด? คำถามนี้ดูเหมือนจะตอบโดยรวมได้ยาก เนื่องจากขอบเขตของอินเทอร์เน็ตครอบคลุมเครือข่ายจำนวนมากมาย บางทีเครือข่ายอาจไม่มีระบบป้องกันใดๆ แครกเกอร์มือสมัครเล่นอาจเข้าไปสร้างความยุ่งยากได้ ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในอินเทอร์เน็ตที่ทำหน้าที่เป็นตัวให้บริการข้อมูลมักทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ 

คำถามสำคัญต่อมาก็คือ UNIX เป็นระบบที่มีความปลอดภัยเพียงใด

          ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่แรกเริ่มออกแบบขึ้นเพื่อการสื่อสารและแลกเปลี่ยนทรัพยากรข้อมูลระหว่างเครื่องโดยไม่เน้นถึงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล จนกระทั่งเมื่อแพร่หลายออกไปสู่ภาคธุรกิจจึงได้ปรับปรุงให้มีกลไกด้านการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่ายูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยน้อยกว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆ เนื่องจากธรรมชาติของระบบปฏิบัติการแบบเปิดหรือกึ่งเปิดที่มีให้เลือกใช้อย่างแพร่หลายย่อมจะมีช่องทางให้ค้นหาจุดอ่อนด้านความปลอดภัยได้ง่าย หากจะขีดวงจำกัดอยู่เฉพาะในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เพียงอย่างเดียวและแยกพิจารณาถึงยูนิกซ์เชิงการค้า เช่น โซลาริส เอไอเอ็กซ์ เอชพี-ยูเอ็กซ์ ไอริกซ์
หรืออัลทริกซ์
 กับยูนิกซ์ที่เป็นสาธารณะ เช่น ลีนุกซ์ หรือฟรีบีเอสดี ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่ายูนิกซ์เชิงการค้ามีความปลอดภัยสูงกว่ายูนิกซ์ที่เป็นสาธารณะ แต่เนื่องจากรูปแบบที่มีให้บริการอย่างหลากหลายเมื่อมองโดยภาพรวมแล้วจึงกล่าวได้ว่าความปลอดภัยในยูนิกซ์มีจุดอ่อนให้โจมตีได้มาก
การระมัดระวังรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่ายจึงไม่ใช่เพียงแต่พึ่งพาขีดความสามารถของระบบปฏิบัติการเท่านั้นแต่ยังต้องการ นโยบายรักษาความภัย (Security Policy) ซึ่งเป็นตัวกำหนดขอบเขตการใช้งานและมาตรการดำเนินการรักษาความปลอดภัยโดยรวมทั้งระบบ


รูปแบบการโจมตีทางเครือข่าย
           นอกเหนือไปจากการหาช่องโหว่หรือข้อบกพร่องของซอฟต์แวร์ที่ให้บริการในเซิร์ฟเวอร์และเจาะเข้าสู่ระบบโดยได้สิทธิผู้ใช้ระดับสูงสุดแล้ว
แครกเกอร์มักใช้วิธีโจมตีเพื่อสร้างปัญหากับระบบในรูปแบบต่างๆ ที่จัดออกได้เป็นกลุ่มดังนี้



 ทำลายระบบ (destructive method)


วิธีนี้คือการใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาก่อกวนหรือสร้างภาระหนักให้ระบบ เช่น ใช้โปรแกรมสร้างภาระให้เราเตอร์หรือเมล์เซิร์ฟเวอร์หยุดการทำงานจนกระทั่งผู้ใช้ไม่สามารถเข้าใช้บริการได้ วิธีนี้ถึงแม้ไม่ได้บุกรุกเข้ามาเพื่อให้ได้สิทธิ์การใช้ระบบ แต่ก็สร้างปัญหาให้ระบบไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ กรรมวิธีที่นิยมใช้โดยทั่วไปคือ
การส่งอีเมล์ขนาดใหญ่จำนวนมาก หรือ เมล์บอมบ์ (mail bomb)


ผู้เปิดอ่านจดหมายจะเสียเวลาอย่างมากเมื่อต้องอ่านจดหมายซึ่งอาจมีจำนวนมหาศาลและมีขนาดใหญ่ เซิร์ฟเวอร์ที่ถูกโจมตีด้วยเมล์บอมบ์ปริมาณมากมักหยุดการทำงานลงในชั่วระยะเวลาสั้นๆ เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากรระบบในการรับจดหมายที่เข้ามา 
วิธีการป้องกันการโจมตีด้วยเมล์บอมบ์มีหลายวิธี เช่น ติดตั้งเมล์ที่จำกัดขนาดที่จะรับการติดตั้งตัวกรองเมล์ และการตรวจจับ และกำจัดเมล์ที่ได้รับ เป็นต้น



การโจมตีจุดบกพร่องแบบ ดอส (Dos : Denial-of-Service) แครกเกอร์ใช้วิธีเข้าไปขอใช้บริการที่เครือข่ายมีให้ โดยการขอจองทรัพยากรที่มีในระบบแบบสะสมด้วยอัตราที่รวดเร็วจนกระทั่งระบบไม่มีทรัพยากรเหลือเพื่อให้บริการผู้ใช้รายอื่น 
วิธีการที่นิยมใช้คือการสร้างแพ็กเกตขอเชื่อมต่อโปรโตคอลทีซีพีจำนวนมาก(เรียกว่า TCP SYN Flooding)
หรือการสร้างแพ็กเกตขนาดใหญ่ส่งไปยังบริการไอซีเอ็มพีด้วยคำสั่ง ping (เรียกว่า ping of eath) การแก้ปัญหาการโจมตีแบบนี้จะต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ทีซีดีซึ่งไม่กันทรัพยากรระบบไว้นานเกินไปนอกจากนี้ยังมีการโจมตีในลักษณะอื่นที่เป็นที่รู้จักในหมู่แครกเกอร์ เช่น 
Teardrop , LAND ,หรือ Winnuke เป็นต้น



การโจมตีแบบรูทฟอร์ซ (brute-force attack)


   ผู้บุกรุกจะใช้โปรแกรมเชื่อมต่อด้วยเทลเน็ตไปยังเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง โปรแกรมจะคาดเดาชื่อบัญชีจากชื่อมาตรฐานทั่วไปที่มีอยู่และสร้างรหัสผ่านขึ้นมาเพื่อเข้าใช้บัญชีนั้นโดยอัตโนมัติ โปรแกรมจะมีดิคชันนารีเพื่อเป็นงานสำหรับใช้สร้างรหัสผ่านที่ตรงกับชื่อบัญชีหรือรหัสที่เขียนย้อนกลับ หรือรหัสผ่านที่เป็นคำที่พบได้ในดิคชันนารี หรือคำประสม เป็นต้น การโจมตีแบบนี้มักนิยมใช้ในหมู่แครกเกอร์มือใหม่เนื่องจากมีเครื่องมือที่หาได้ง่ายและใช้งานสะดวกแต่ก็เป็นวิธีที่ตรวจสอบและค้นหาต้นตอได้ง่ายเช่นกัน เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์ปลายทางจะมีระบบบันทึกการเข้าใช้งานทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ



การโจมตีแบบพาสซีพ (passive attack)
แครกเกอร์อาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีเจาะเข้าไปยังเครื่องปลายทางโดยตรง หากแต่ติดตั้งโปรแกรมตรวจจับแพ็กเกต (packet sniffing) ไว้ในที่ใดที่หนึ่ง(หรือที่รูจักกันดีในชื่อของสนิฟเฟอร์) เมื่อมีการเชื่อมขอใช้บริการไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ชื่อบัญชีและรหัสผ่านที่ป้อนผ่านแป้นพิมพ์จะถูกบันทึกเก็บไว้และรายงานไปยังแครกเกอร์เนื่องจากข้อมูลที่วิ่งอยู่ในเครือข่ายนั้นมักเป็นข้อมูลดิบที่ไม่มีการเข้ารหัสลับ แครกเกอร์สามารถจะดักจับรหัสผ่านของทุกคนที่เข้าใช้งานระบบได้ไม่เว้นแม้แต่ผู้ดูแลระบบเองไม่ว่าผู้ใช้ใดจะเปลี่ยนรหัสผ่านไปกี่ครั้งก็ตาม แครกเกอร์ก็จะได้รหัสใหม่นั้นทุกครั้ง เทคนิคของการใช้สนิฟเฟอร์จำเป็นต้องใช้ความรู้ขั้นก้าวหน้าขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยปกติแล้วการตรวจหาว่าเซิร์ฟเวอร์มีสนิฟเฟอร์ซ่อนอยู่หรือไม่อาจทำได้โดยไม่ยากนัก แต่แครกเกอร์ที่เชี่ยวชาญมักวางหมากขั้นที่สองโดยการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมตรวจสอบเพื่อไม่ให้รายงานผลว่ามีสนิฟเฟอร์ซ่อนอยู่ วิธีการป้องกันสนิฟเฟอร์อีกรูปแบบหนึ่งก็คือการใช้เซลล์ที่ผ่านการเข้ารหัสลับทำให้ไม่สามารถนำดูข้อมูลดิบได้
กล่องเครื่องมือแครกเกอร์
เทคนิคการเจาะเข้าสู่ระบบยูนิกซ์มีตั้งแต่วิธีพื้นๆ ที่ไม่ได้ใช้เทคนิคหรือเครื่องใด เรื่อยไปจนกระทั่งเทคนิคที่ซับซ้อน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าพวกแครกเกอร์เพียงแต่ใช้วิธีพื้นฐานง่ายๆ ก็สามารถเจาะเข้าสู่ระบบได้
  
เดาสุ่มทุกทาง
ด่านสำคัญในการเข้าสู่ยูนิกซ์คือรหัสผ่านซึ่งเก็บอยู่ใจแฟ้ม /etc/passwd รหัสผ่านในแฟ้มนี้จะผ่านการเข้ารหัสลับทำให้ไม่ทราบถึงรหัสต้นฉบับได้ แต่แฟ้ม /etc/psswd ไม่ได้เป็นแฟ้มลับ ในทางตรงกันข้ามกลับเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทุกคนเปิดอ่านได้ แครกเกอร์ซึ่งได้แฟ้มรหัสผ่านจะนำแฟ้มไปผ่านโปรแกรมวิเคราะห์หารหัส โดยตัวโปรแกรมจะสร้างรหัสต้นฉบับขึ้นมาจากดิคชันนารีที่มีอยู่ในระบบ (เช่น ในยูนิกซ์คือ /usr/dict แล้วเข้ารหัสเพื่อนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับรหัสใน /etc/passwd โปรแกรมแกะรหัสผ่านเป็นโปรแกรมเขียนได้ง่ายต้นฉบับโปรแกรมภาษาซีอาจมีความยาวเพียง 60-70 บรรทัด อีกทั้งยังมีโปรแกรมสำเร็จที่เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว เช่น crack (ftp://ftp.cert.opg/pub/tools/crack) crack สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ให้ดูแลระบบใช้วิเคราะห์หาว่าผู้ใช้รายใดตั้งรหัสผ่านง่ายเกินไป แต่ก็มีผู้นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค ์ หนทางที่ป้องกันได้ส่วนหนึ่งก็คือผู้ใช้ทุกคนจะต้องเรียนรู้หลักการและตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก ยูนิกซ์ในระบบ System V จะใช้วิธีแยกเอาส่วนของรหัสผ่านไปเก็บไว้ในแฟ้มต่างหากอีกแฟ้มหนึ่งที่ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปอ่านได้ กรรมวิธีแบบนี้เรียกว่าระบบ "shadow password"
สนิฟเฟอร์
สนิฟเฟอร์เป็นชื่อเครื่องหมายทางการค้าของระบบตรวจจับแพ็กเกตเพื่อนำมาวิเคราะห์และตรวจปัญหาในเครือข่าย ตัวระบบจะประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีการ์ดเครือข่ายสมรรถนะและซอฟต์แวร์ตรวจวิเคราะห์แพ็กเกต แต่ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์จำนวนมาก ที่มีขีความสามารถระดับเดียวกับสนิฟเฟอร์ และทำงานได้โดยไม่ต้องพึ่งฮาร์ดแวร์เฉพาะ อีกทั้งมีแพร่หลายในแทบทุกระบบปฏิบัติการ ชื่อสนิฟเฟอร์ ในปัจจุบันจึงนิยมใช้เป็นชื่อเรียกของโปรแกรมใด ๆ ที่สามารถตรวจจับและวิเคราะห์แพ็กเกตไปโดยปริยาย
  
จารชนอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแรกเริ่มนั้นจำกัดอยู่เพียงกลุ่มนักวิชาการ ตราบกระทั่งเครือข่ายขยายออกไปทั่วโลกเปิดโอกาสให้บุคคลทุกระดับ
ทุกอาชีพมีสิทธิ์เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคมอินเทอร์เน็ตได้ ความปลอดภัยของข้อมูลเริ่มเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ในระยะเวลาที่ผ่านมามี
การลักลอบเข้าไปใช้เครื่องในศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ หลายต่อหลายครั้ง ถึงแม้ว่าบางครั้งจะจับได้แต่ก็ต้องอาศัยความพยายามและเทคนิค
ในการสะกดรอยด้วยความยากลำบากกว่าจะทราบได้ว่าจารชนเหล่านี้แฝงกายอยู่ที่มุมใดในโลก
เรามักจะเรียกพวกที่มีความสามารถเจาะเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ว่า "แฮกเกอร์" (Hacker) ซึ่งความหมายดั้งเดิมที่แท้จริงแล้ว
แฮกเกอร์สื่อความหมายถึงผู้เชี่ยวชาญด้านโอเอสหรือระบบ สามารถเข้าไปแก้ไข ดัดแปลงการทำงานระดับลึกได้ หรือในสารบบความปลอดภัยแล้ว
แฮกเกอร์เป็นอาชีพหนึ่งที่ทำหน้าที่เจาะระบบและค้นหาจุดอ่อนเพื่อหาหนทางแก้ไขป้องกัน ส่วนพวกที่เจาะระบบเข้าไปโดยไม่ประสงค์ดีมีชื่อเรียกโดย
เฉพาะว่า "แครกเกอร์" (Cracker) พวกหลังนี้เข้าข่ายจารชนอิเล็กทรอนิกส์ที่มักชอบก่อกวนสร้างความวุ่นวายหรือทำงานเป็นมืออาชีพที่คอยล้วง
ความลับหรือข้อมูลไปขาย แต่จะทำอย่างไรได้เมื่อคำว่าแฮกเกอร์ใช้ผิดความหมายจนติปากไปโดยปริยายเสียแล้ว
  
ม้าโทรจัน
โปรแกรมม้าโทรจันเป็นโปรแกรมที่ลวงให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดว่าเป็นโปรแกรมปกติโปรแกรมหนึ่งที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ แต่การทำงานจริง
กลับเป็นการดักจับข้อมูลเพื่อส่งไปให้แครกเกอร์ ตัวอย่างเช่นโปรแกรมโทรจันที่ลวงว่าเป็นโปรแกรมล้อกอินเข้าสู่ระบบ เมื่อผู้ใช้ป้อนบัญชีและรหัสผ่าน
ก็จะแอบส่งรหัสผ่านไปให้แครกเกอร์
 
ประตูกล
แครกเกอร์ใช้ ประตูลับ (backdoors) ซึ่งเป็นวิธีพิเศษเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต ความหมายของประตูลับอาจรวมไปถึงวิธีการที่
ผู้พัฒนาโปรแกรมทิ้งรหัสพิเศษหรือเปิดทางเฉพาะไว้ในโปรแกรมโดยไม่ให้ผู้ใช้ล่วงรู้ แครกเกอร์ส่วนใหญ่จะมีชุดซอฟต์แวร์ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเจาะเข้า
สู่ระบบตามจุดอ่อนที่มีอยู่ด้วยวิธีการต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ตรวจช่วงโหว่ระบบ
ในอินเทอร์เน็ตมีซอฟต์แวร์เป็นจำนวนมากที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์หารูโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัยซอฟต์แวร์เหล่านั้นเผยแพร่โดย
ไม่คิดมูลค่าและเป็นเสมือนดาบสองคมที่ทั้งแฮกเกอร์และแครกเกอร์นำไปใช้ด้วยจุดประสงค์ที่ต่างกัน ซอฟแวร์ในกลุ่มนี้ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายได้แก่
Internet Security Scanner , SATAN COPS และ Tiger เป็นต้น
 
การป้องกันและระวังภัย
ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์หลากหลายที่ใช้เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยในระบบ ตัวอย่างวอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เบื้องต้นได้กล่าวไปในหัวข้อที่แล้ว ส่วนซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งเป้นระบบรักษาความปลอดภัยที่กำลังเริ่มใช้อย่างแพร่หลายได้แก่ระบบไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เสมือนกับกำแพงกันไฟไม่ให้ลุกลามขยายตัวหากมีไฟไหม้เกิดขึ้น ไฟร์วอลล์จะอาศัยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นด่านเข้าออกเครือข่ายและเป็นเสมือนกำแพงกันไฟ และมีซอฟต์แวร์ที่ผู้ดูแลระบบจะติดตั้ง และกำหนดรูปแบบการอนุญาตให้เข้าใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ตมีหน่วยงาน CERT (Computer Emergency Response Team) ทำหน้าที่เป็นเสมือน "ตำรวจอินเทอร์เน็ต" คอยดูแลความปลอดภัย ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก อย่างไรก็ตาม หน่วยงาน CERT ไม่ได้มีอำนาจในการจัดการหรือจับกุมแครกเกอร์ หากเพียงแต่คอยทำหน้าที่เตือนและช่วยเหลือ ตลอดจนแจ้งข่าวเมื่อพบปัญหาด้านความปลอดภัยในระบบเพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที CERT จะประกาศข่าวเตือนภายใต้หัวข้อข่าว Comp.securily.announce เป็นประจำ
ไม่ว่าระบบเครือข่ายจะมีฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ดีเพียงใดในการปกป้องระบบเครือข่าย สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือผู้ใช้งานในระบบจะต้องคอยช่วย
สอดส่องดุแลและป้องกันไม่ให้ตนเองเป็นช่องทางผ่านของแครกเกอร์ผู้ดูแลระบบจะต้องคอยติดตามและหาวิธีการป้องกันและแก้ไขจุดบกพร่องของซอฟต์แวร์
ที่ใช้งาน พึงระลึกไว้ว่าไม่มีระบบเครือข่ายใดที่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์จากแครกเกอร์

    ขอบคุุณข้อมูลจาก:http://www.dld.go.th/ict/article/network/netw03.html

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ

แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีขององค์การ
                ปัจจุบันพัฒนาการและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์การ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้บริหาร ในอนาคตให้นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ โดยผู้บริหารต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราสามารถจำแนกผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อการทำงานขององค์การออกเป็น 5 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ 


                     1.  การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ
  
เทคโนโลยีหลายอย่างได้ถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ และส่งผลให้กระบวนการทำงานได้เปลี่ยนรูปแบบไป ตัวอย่างเช่น การนำเอาเทคโนโลยีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (eletronics mail) เข้ามาใช้ภายในองค์การ ทำให้การส่งข่าวสารไม่ต้องใช้พนักงานเดินหนังสืออีกต่อไป ตลอดจนลดการใช้กระดาษที่ต้องพิมพ์ข่าวสาร และสามารถส่งข่าวสารไปถึงบุคคลที่ต้องการ ได้เป็นจำนวนมากและรวดเร็ว หรือเทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ (ofice automation) ที่เปลี่ยนรูปแบบของกระบวนการทำงานและประสานงาน ในองค์การให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการ บริหารงานของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ขององค์การ

                2.  การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ 
โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะผลิตสารสนเทศที่สำคัญให้แก่ผู้บริหาร ที่จะใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจและการสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขัน ในอนาคตการแข่งขัน ในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีความรุนแรงมากขึ้น การบริหารงานของผู้บริหารที่อาศัยเพียงประสบการณ์และ โชคชะตาอาจจะไม่เพียงพอ แต่ถ้าผู้บริหารมีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ มาประกอบในการตัดสินใจ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาและบริหารงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น ดังนั้นผู้บริหารในอนาคตจะต้องสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การสร้างสารสนเทศที่ดีให้กับตนเองและองค์การ

                3.  เครื่องมือในการทำงาน
เทคโนโลยีถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ เช่น การออกเอกสารต่าง ๆ โดยใช้คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบชิ้นส่วนของเครื่องจักร และการควบคุมการผลิต เป็นต้น เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสามารถที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงคุณภาพของการที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งช่วยลดค่าใช้จ่าย ในเรื่องของแรงงานและวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆลง แต่ยังคงรักษาหรือเพิ่มคุณภาพในการทำงานหรือการให้บริการลูกค้าที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเทคโนโลยี จะถูกนำเข้ามาใช้ในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกระบวนการ ในการดำเนินงานขององค์การมากขึ้นในอนาคต

                   4.  การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ PC ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนการใช้งานสะดวกและไม่ซับซ้อนเหมือนอย่างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ในท้องตลาดยังมีชุดคำสั่งประยุกต์ (application software) อีกมากมายที่สามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตของงานได้อย่างมาก และเมื่อต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ากับระบบเครือข่าย ก็จะทำให้องค์การสามารถรับ-ส่ง ข้อมูลและข่าวสารจากทั้งภายในและภายนอกองค์การได้อีกด้วย ดังนั้นในอนาคตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะกลายเป็น เครื่องมือหลักของพนักงานและผู้บริหารขององค์การ


                5.  เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร 
ในช่วงแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทางธุรกิจคอมพิวเตอร์จะถูกใช้เป็นเพียงอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการเก็บและคำนวณข้อมูลต่าง ๆ เท่านั้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยสามารถที่จะต่อเป็นระบบเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันผู้ใช้สามารถติดต่อเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันได้จากทุกหนทุกแห่งทั่วโลก คอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่สำคัญมากกว่า การเป็นเครื่องมือที่เก็บและประมวลผลข้อมูลเหมือนอย่างในอดีตต่อไป

แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ แสดงให้เราเห็นได้ว่าในอนาคต ผู้ที่จะเป็นนักบริหารและนักวิชาชีพที่ประสบความสำเร็จจะต้องไม่เพียงแค่รู้จักคอมพิวเตอร์ แต่จะต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ และรู้จักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้บริหารในอนาคตจะต้องรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับงานของตน มีความคิดในการที่จะสร้างระบบสารสนเทศที่ตนเองต้องการ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในภาวะที่มีการแข่งขันสูง ทำให้การบริหารของตนเองมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จอย่างสูง ขณะที่นักวิชาชีพจะใช้ระบบสารสนเทศในการรวบรวมประมวลผล และจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการค้นหาและตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอย่างถูกต้องและรวดเร็ว


เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต 
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอด และมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้ เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมีดังต่อไปนี้


             1.  คอมพิวเตอร์ (computer)
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (very large scale integrated circuit : VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มี  ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะที่มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (reduced instruction set computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผล ของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป


              2.  ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI 
เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิด แก้ปัญหาและให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษาและ ทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้ความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์  (robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงานและ ใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น
              3.  ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (executive information system) หรือ EIS  เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวาง แผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์


              4.  การจดจำเสียง (voice recognition)   เป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียง ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ


                5.  การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์     (electronics data interchange)  หรือ EDI เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่ง ไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นโดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลัง ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะช่วงลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
                6.  เส้นใยแก้วนำแสง  (fiber optics)  เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้น ใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ “ทางด่วนข้อมูล (information superhighway)” ที่จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อ วงการสื่อสารมวลชนและการค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
                7.  อินเทอร์เน็ต (internet) 
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันในประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น
                8.  ระบบเครือข่าย (networking system)
โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (local area network : LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดัน ให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต
                9.  การประชุมทางไกล (teleconference) 
เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อให้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้นำเข้าร่วมประชุม ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก
                10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (cable and sattleite TV) 
การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้ชม จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ได้เหมาะสมขึ้น
                11. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (multimedia technology)
เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัด เก็บข้อมูลหรือข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียวที่บันทึกในแผ่นดิสก์ (CD-ROM)  จอภาพที่มีความละเอียดสูง (high resolution) เข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อจัดเก็บและนำเสนอข้อมูล ภาพ และเสียงที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ตื่นตัวและได้รับความสนใจจากบุคคลหลายกลุ่ม เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา โฆษณา และบันเทิงเป็นอย่างมาก
                12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (computer base training)
เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (computer assisted instruction) หรือ  CAI” การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computer aided design) หรือ CAD
เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือ การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออกแบบ วิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ
                14. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (computer aided manufacturing) หรือ CAM
เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้ในการทำงานที่ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบ รายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญ ช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด
                15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system) หรือ GIS  เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (graphics) และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS  สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น
                ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นในปัจจุบัน และกำลังทำการศึกษาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการใช้งานในอนาคต โครงการพัฒนาความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผลไม่เพียงต้องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังจะส่งผล กระทบต่อการดำเนินงานขององค์การและความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคมส่วนรวมอีกด้วย เราจะเห็นว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ จะเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราต้องพยายามติดตาม ศึกษา และทำความเข้าใจแนวทางและพัฒนาการที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม


การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาท ที่สำคัญต่อวิถีชีวิตและสังคมของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างการเปลี่ยนแปลงและโอกาสให้แก่องค์การ เช่น เปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์และการแข่งขันในอุตสาหกรรม ปรับโครงสร้างการดำเนินงานขององค์การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ เป็นต้น เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ใน การติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้มีการพัฒนาและกระจายตัวของภูมิปัญญา ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ปัจจุบันองค์การในประเทศไทยได้มีการตื่นตัวที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มา ใช้งานมากขึ้น เพื่อที่จะทำให้เราติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีได้ทัน และสามารถใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม
                                 ขอบคุณข้อมูลจาก:http://www.bcoms.net/temp/lesson12.asp

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิผล มีมากมายหลายด้านได้แก่ 

1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ได้ในหลายลักษณะ เช่น
1.1 การจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำแบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
-ระบบเดี่ยว
-ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร
1.2 งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ 
1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครื่อข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่นๆ
1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างภาพ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศท์ และวิดีทัศน์ เป็นต้น
1.5 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยเสียง เช่น การใช้โทรศัพท์ เป็นต้น
1.6 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น

2.การการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการระบบการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ

3.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์
สถาบันการเงินต่างๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องถอนเงินโดยอัตโนมัติ หรือ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอนอนเงิน และได้นำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคาร

4.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการบริการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ และดาวเทียม เป็นต้น

5.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน ดังนี้
5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล(Hospital Information System : HIS) นำมาใชในงานเวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน เป็นต้น
5.2 ระบบสาธารณสุข นำมาใช้ในด้านการดูแลรักษาโรคระบาดในท้องถิ่น
5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในกาสรวินิจฉัยโรคระบบสารสนเทศที่ใช้กับงานดังกล่าวซึ่งมีชื่อเสียงและมีการนำมาใช้ในราวสิบกว่าปีที่ผ่านมา

6.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา
6.1การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction)
6.2การศึกษาทางไกล มีหลายแบบ เช่น การเรียนการสอนผ่านวิทยุ โทรทัศน์ ไปจนถึงระบบแพร่ภาพการสอนผ่านดาวเทียม(Direct ToHome : HTM) หรือการประชุมทางไกล(Vedio Teleconference)
6.3เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา 
มีโอกาสใช้เครือข่ายแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และการใชบริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา
6.4การใช้งานห้องสมุด เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการยืม คืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์หรือการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
6.5การใช้งานในห้องปฏิบัติการ การใช้งานร่วมกับอุกรณ์เครื่องมือต่างๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุม การทดลอง เป็นต้น
6.6การใชในงานประจำและบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัตินักเรียนนักศึกษา การเลือกวิชาเรียน การลงทะเบียน การแสดงผลการเรียน การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวการศึกษาต่อ การเก็บข้อมูลผ้ปกครองหรือข้อมูลครู ซึ่งทำให้อาจารย์สามารถติดตามและดูแลนักเรียนได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น

           ขอบคุณข้อมูลจาก:http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=basbasic&month=10-2007&date=05&group=4&gblog=7

ความรู้เกี่ยวกับองค์กรเครือข่าย

เครือข่าย คือ การเชื่อมโยงร้อยรัดเอาความพยายามและการดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบและอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อปฏิบัติภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกันโดยที่แต่ละฝ่ายยังคงปฏิบัติภารกิจหลักของตนต่อไปอย่างไม่สูญเสียเอกลักษณ์ และปรัชญาของตนเอง การเชื่อมโยงนี้อาจเป็นรูปของการรวมตัวกันแบบหลวมๆ เฉพาะกิจตามความจำเป็น หรืออาจอยู่ในรูปของการจัดองค์กรที่เป็นโครงสร้างของความสัพมันธ์กันอย่างชัดเจน



ความหมายของกลุ่มและเครือข่าย
             กลุ่ม  หมายถึง บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกันหรือมาปรึกษาหารือกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อที่จะแก้ไขหรือขจัดข้อขัดข้องในเรื่องนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ให้หมดไป หรือให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของตนเองที่มีจุดหมายเอาไว้
เครือข่าย (Network) หรือเครือข่ายทางสังคม (Social Network)
หมายถึง

1.  ตาข่าย (Net) ที่โยงใยถึงกันและพร้อมที่จะ “Work” เมื่อต้องการใช้งาน
2.  รูปแบบหนึ่งของการประสานงานของบุคคล กลุ่ม หรือองค์กรหลายองค์กร
ที่ต่างก็มีทรัพยากรของตัวเอง มีเป้าหมาย มีวิธีการทำงาน และมีกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง บุคคล กลุ่มหรือองค์กรเหล่านี้ได้เข้ามาประสานงานกันอย่างมีระยะเวลานานพอสมควร แม้อาจจะไม่ได้มีกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอก็ตาม แต่ก็จะมีการวางรากฐานเอาไว้ เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีความต้องการที่จะขอความช่วยเหลือ หรือขอความร่วมมือจากกลุ่มอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาก็สามารถติดต่อไปได้
3.  การเชื่อมโยงร้อยรัดเอาความพยายามและการดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ
เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบและอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อปฏิบัติภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกันโดยที่แต่ละฝ่ายยังคงปฏิบัติภารกิจหลักของตนต่อไปอย่างไม่สูญเสียเอกลักษณ์ และปรัชญาของตนเอง การเชื่อมโยงนี้อาจเป็นรูปของการรวมตัวกันแบบหลวมๆ เฉพาะกิจตามความจำเป็น หรืออาจอยู่ในรูปของการจัดองค์กรที่เป็นโครงสร้างของความสัพมันธ์กันอย่างชัดเจน
4.  สายใยของความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ระหว่างบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่นๆ อีกหลายๆ คน

5.  ระบบความสัมพันธ์ในสังคมมนุษย์ ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์เชิงวัฒนธรรม
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6.  ความสัมพันธ์ที่อิงอาศัยที่เป็นไปตามกฎของการไหลเลื่อนไปมาระหว่าง
ความไร้ระเบียบกับการจัดระเบียบ และระหว่างการแตกดับกับการเกิดขึ้นใหม่ที่พร้อม
จะสานต่อกับสิ่งต่างๆ โดยมุ่งเน้นการสานต่อกับปัจเจกบุคคล กลุ่มและองค์กรเครือข่าย เพื่อเข้ามาสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ ความรู้ใหม่ หรือสังคมใหม่อย่างเหมาะสม โดยยึดหลักของความไว้วางใจที่มีต่อกัน ในฐานะที่ทุกกระบวนการเป็นระบบเปิดที่มีการเชื่อมโยงต่อกัน และเพื่อให้เกิดการกระทำตามภารกิจนั้นๆ จนบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.  สายใย (Web) ของความสัมพันธ์ทางสังคม มีความเป็นเอกภาพ มีพลังความยึดโยง (cohesive) และการสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
8.  การที่คนมาพบปะกัน มาประชุมกัน และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกัน เพราะ
มีสิ่งที่ยึดโยงใจระหว่างสมาชิกเข้าด้วยกัน คือ สัมพันธภาพของสมาชิกในเครือข่าย โดยบุคคลจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างกันบนพื้นฐานของความเท่าเทียมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านโอกาสในการสื่อสาร การเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร และการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ร่วมกัน

9.  การเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ แล้วขยายผลออกไปเป็นวงกว้าง
เพื่อให้สังคมเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น และในการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์นั้นจะเป็นความสัมพันธ์กลับในเชิงบวก ที่จะส่งผลให้เกิดพลังทวีคูณ (reinforcing) เกิดการขยายผลแบบก้าวกระโดด (quantum leap) เป็นพลังสร้างสรรค์ที่เปลี่ยนคุณภาพอย่างฉับพลัน (emergence) โดยเป้าหมายที่ปรารถนาในการสร้างเครือข่าย คือ การนำเอาจิตวิญญาณที่สร้างสรรค์ของมนุษย์มาถักทอเชื่อมโยงกัน ซึ่งการสร้างเครือข่ายนั้นสามารถพิจารณาได้จากระบบสิ่งมีชีวิต ที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ดังนั้นจะต้องสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงเครือข่ายและมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา (ลองผิด-ลองถูก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการสื่อสารจะต้องเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการสร้างเครือข่าย
10. ความร่วมมือที่เป็นไปได้ทั้งในระบบบุคคล องค์กรและสถาบันอาจมีขอบข่ายและขนาดตั้งแต่เล็กๆ ภายในชุมชนไปจนถึงระดับจังหวัด ภูมิภาค ประเทศและระหว่างประเทศ เป็นสายใยของความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ระหว่างบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่นๆ และอีกหลายๆ คน ซึ่งเป็นการมองในมิติของการจัดโครงสร้างทางสังคมที่เอื้อต่อการเสริมสร้างและความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกลุ่มคนในสังคมที่มีต่อกัน
11. ชุมชนแห่งสำนึก (conscious community) ที่สมาชิกต่างเป็นส่วนหนึ่งของระบบโดยรวมที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น อาจจะด้วยพื้นฐานของระบบคุณค่าเก่าหรือ
เป้าประสงค์ใหม่ของการเข้ามาทำงานร่วมกัน ซึ่งมีลักษณะเป็นพลวัตรที่บุคคลและกลุ่มคนต่างมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกัน มีความสัมพันธ์และการตัดสินใจร่วมกัน โดยมีพันธะเชื่อมโยงระบบใหญ่บนพื้นฐานแห่งความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกัน และมีการติดต่อสื่อสารด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้กลุ่มหรือเครือข่ายมีความยั่งยืน (communication and network)

12. เครื่องมือทางสังคมในรูปแบบของประชาสังคม ที่ผู้คนในสังคมเห็นวิกฤตการณ์หรือสภาพปัญหาในสังคมที่สลับซับซ้อนที่ยากแก่การแก้ไข มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มารวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือองค์กร (civic group/organization) ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน หรือภาคสังคม (ประชาชน) ในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนกัน (partnership) เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา หรือกระทำการบางอย่างให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ด้วยความรัก ความสมานฉันท์ ความเอื้ออาทรต่อกันภายใต้ระบบการจัดการ โดยมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายและประชาคมที่รวมกลุ่มขององค์กรอิสระ สาธารณประโยชน์ ปัจเจกชนและสาธารณชนเข้าด้วยกัน โดยในเครือข่ายประชาสังคมนั้น กระบวนการเชื่อมประสาน การถ่ายเทความคิดเห็น ทัศนคติ และประสบการณ์ทางการเมืองจะยกระดับ
จิตสำนึกของปัจเจกบุคคล จากการเป็นฝ่ายถูกกระทำมาเป็นฝ่ายกระทำต่อสังคม
13. การที่ปัจเจกบุคคล องค์กร หน่วยงานหรือสถาบันใด ได้ตกลงที่จะประสานเชื่อมโยงเข้าหากันภายใต้วัตถุประสงค์ หรือข้อตกลงอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกันอย่างเป็นระบบ
โดยมีจุดหมายเพื่อกิจกรรมต่างๆ เช่น การปฏิรูปการศึกษา โดยกลุ่มเครือข่ายนี้ต้องมีการแสดงออกเป็นการลงมือกระทำกิจกรรมร่วมกัน
14. รูปแบบการประสานงานกลุ่มของคนหรือองค์กร ที่สมัครใจแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน หรือกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกัน โดยการติดต่อสื่อสารอาจทำได้ทั้งการผ่านศูนย์กลางหรือแม่ข่าย และการติดต่อโดยตรงระหว่างกลุ่ม ซึ่งมีการจัดรูปแบบหรือจัดระเบียบที่ยังคงความอิสระ โดยมีรูปแบบการรวมตัวแบบหลวมๆ ตามความจำเป็น หรือเป็นโครงสร้างที่มีความชัดเจน
15. ความร่วมมือและการเปิดรับของฝ่ายต่างๆ ที่จะมีข้อตกลงร่วมกันในการ
ทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งข้อกำหนดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความพยายามที่จะระดมทรัพยากร กระบวนการ ความรู้และวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จจากการร่วมมือและการเปิดรับในสิ่งที่ใหม่นั้นเสมอ

16. การสร้างสัมพันธภาพทางสังคมในการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อยกระดับแนวคิดและกิจกรรมที่ทำร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ โดยเป็นการเชื่อมโยงสายสัมพันธ์อย่างหลวมๆ ของปัจเจกบุคคล กลุ่ม องค์กรและสถาบัน ซึ่งสมาชิกในเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสม ภายใต้กฎเกณฑ์หรือเป้าหมายร่วมและมีการปฏิบัติอย่างไม่สูญเสียเอกลักษณ์และปรัชญาของตน รวมทั้งมีการทำงานร่วมกันทั้งในงานเฉพาะหน้า และการประสานผลประโยชน์ที่ขยายวงกว้างออกไป
17. สังคมแห่งกัลยาณมิตร หรือเครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้ (leaning social networks) โดยเครือข่ายสังคม จะต้องมีความสามารถในการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง หรือมี
การขยายแนวคิดกระบวนการออกไปจึงจะสามารถปรับตัวให้อยู่ในดุลยภาพได้
18. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชุมชนที่กว้างขวาง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมที่ยุติธรรม และกาสร้างเครือข่ายที่กว้างขวางมากกว่าในอดีต เพื่อสอดคล้องกับกระบวนการพัฒนาที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและเครือข่ายหรือเพื่อรู้เท่าทันการเชื่อมโยงเครือข่ายของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ไร้พรมแดน


                       ความแตกต่างระหว่าง กลุ่ม กับ เครือข่าย

กลุ่ม

·    เป็นการเชื่อมโยงปัจเจกบุคคลที่มีการรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดกว่า มีเอกลักษณ์และปรัชญาการทำงานที่ชัดเจน
·   ประกอบด้วยบุคคลที่มีความคิด ความเชื่อเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน ผ่านประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกัน ในขณะเดียวกันก็มีกิจกรรมต่างๆ ที่เหมือนหรือใกล้เคียงกัน มีพันธกิจร่วมกัน และดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน

เครือข่าย
  
·   เป็นการเชื่อมโยงสายสัมพันธ์อย่างหลวมๆ ของปัจเจกบุคคล กลุ่ม องค์กร และสถาบันโดยที่สมาชิกในเครือข่ายเข้าร่วมทำกิจกรรมตามความเหมาะสม ภายใต้กฎเกณฑ์หรือเป้าหมายร่วมและมีการปฏิบัติอย่างไม่สูญเสียเอกลักษณ์ และปรัชญาของตนและมีการทำงานร่วมกัน ทั้งงานเฉพาะหน้าและการประสานผลประโยชน์ที่ขยายวงกว้างออกไป
·   ประกอบด้วยบุคคลที่มีความคิด ความเชื่อเหมือนหรือต่างกันก็ได้ แต่ทุกคน
ต่างมุ่งเน้นการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักร่วมกัน ในขณะที่เป้าหมายย่อย
ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นสมาชิกของเครือข่ายอาจแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากความคิด ความเชื่อ ประสบการณ์ การกระทำ พันธกิจและเป้าหมาย

ประเภทและรูปแบบของเครือข่าย 

1.  เครือข่ายเชิงพื้นที่ (area)
2.  เครือข่ายเชิงประเด็นกิจกรรม (issue)
3.  เครือข่ายแบ่งตามโครงสร้างหน้าที่
1.  เครือข่ายเชิงพื้นที่ (area network)  หมายถึง การรวมตัวของกลุ่ม องค์กร เครือข่าย ที่อาศัยพื้นที่ดำเนินการเป็นปัจจัยหลักในการทำงานร่วมกันเป็นกระบวนการพัฒนาที่อาศัยกิจกรรมที่กิดขึ้นในพื้นที่เป็นเป้าหมายนำทางและเป็นการพัฒนาแบบบูรณาการที่ไม่แยกส่วนต่างๆ ออกจากกัน โดยยึดเอาพื้นที่เป็นที่ตั้งแห่งความสำเร็จในการทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายลักษณะและโครงสร้างของเครือข่ายเชิงพื้นที่ สามารถจัดได้หลายระดับตามพื้นที่และกิจกรรมที่เกิดขึ้น  อาทิ

1)  การแบ่งเครือข่ายตามระบบการปกครองของภาครัฐ  เช่น
      -   เครือข่ายระดับหมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ เช่น เครือข่ายประชาคม อ.แม่สอด จ.ตาก 
      -   เครือข่ายระดับจังหวัด เช่น  เครือข่ายประชาคม จ.น่าน
      -   เครือข่ายระดับภูมิภาค  เช่น  เครือข่ายป่าชุมชนภาคเหนือ
      -   เครือข่ายระดับประเทศ  เช่น  เครือข่ายสมาพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย
      -   เครือข่ายองค์กรระหว่างประเทศ  เช่น  เครือข่ายการพัฒนาของ  UNDP เป็นต้น
2)  การแบ่งพื้นที่ตามความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น
      -   เครือข่ายลุ่มน้ำปิง
      -   เครือข่ายอ่าวปัตตานี ฯลฯ

2.  เครือข่ายเชิงประเด็นกิจกรรม (issue  network) หมายถึง  เครือข่ายที่ใช้ประเด็นกิจกรรม หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยหลักในการรวมกลุ่มองค์กร โดยมองข้ามมิติในเชิงพื้นที่  มุ่งเน้นการจัดการในประเด็นกิจกรรมนั้นๆ อย่างจริงจัง และพัฒนาให้เกิดความร่วมมือกับภาคีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องลักษณะและโครงสร้างของเครือข่ายเชิงประเด็นกิจกรรม  สามารถแบ่งได้อย่างมากมายตามประเด็นกิจกรรม และความสนใจที่เกิดขึ้นของฝ่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน โดยไม่ ยึดติดกับพื้นที่ดำเนินการ  แต่ใช้หลักของกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นตัวกำหนดความเป็นเครือข่าย  เช่น
-   เครือข่ายป่าชุมชน
-   เครือข่ายภูมิปัญญาชาวบ้าน
-   เครือข่ายธนาคารหมู่บ้าน
-   เครือข่ายผู้สูงอายุ
-   เครือข่ายด้านคุ้มครองผู้บริโภค
-   เครือข่ายสิ่งแวดล้อม
-   เครือข่ายปฏิรูปการศึกษา
-   เครือข่ายสิทธิมนุษยชน
-   เครือข่ายสุขภาพ  ฯลฯ
3.  เครือข่ายแบ่งตามโครงสร้างหน้าที่  หมายถึง เครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยอาศัยภารกิจ/กิจกรรม  และการก่อตัวของกลุ่มผลประโยชน์ในสังคมเป็นแนวทางในการแบ่งเครือข่าย  ซึ่งอาจแบ่งเป็นเครือข่ายภาครัฐ  ภาคประชาชน  ภาคธุรกิจเอกชน  และภาคองค์กรพัฒนาเอกชน  โดยเครือข่ายต่างๆ ดังกล่าวมุ่งเน้น การดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิด หลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของหน่วยงาน หรือโครงสร้างหลักของกลุ่มผลประโยชน์ นั้นๆ ลักษณะและโครงสร้างของเครือข่ายประเภทนี้  สำหรับสังคมไทยอาจแบ่งกลุ่มผลประโยชน์ได้ 4 ภาคส่วนใหญ่ๆ ได้แก่

1)  เครือข่ายภาครัฐ  เช่น  เครือข่ายสถาบันการศึกษา  เครือข่ายกรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย  เครือข่ายองค์กรอิสระของภาครัฐ  เช่น สถาบันพระปกเกล้า  สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น
2)  เครือข่ายภาคธุรกิจเอกชน เช่น สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมผู้ส่งออก  เครือข่าย SME ฯลฯ
3)  เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน เช่น เครือข่ายเพื่อนตะวันออก เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ เครือข่ายด้านแรงงานสวัสดิการสังคม เครือข่ายมูลนิธิ YMCA ฯลฯ
4)  เครือข่ายภาคประชาชน เช่นเครือข่ายปราชญ์อีสาน เครือข่ายประมงพื้นบ้านเครือข่ายสมัชชาคนจน เป็นต้น

องค์ประกอบของเครือข่าย 

องค์ประกอบที่สำคัญของความเป็นเครือข่าย ได้แก่

1.  หน่วยชีวิตหรือสมาชิก เป็นองค์ประกอบเบื้องต้นของความเป็นเครือข่าย
ที่สร้างระบบปฏิสัมพันธ์โดยแต่ละหน่วยชีวิตและแต่ละปัจเจกบุคคล จะดำเนินการสานต่อเพื่อหาแนวร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดการดำรงอยู่ร่วมกันตามหลักธรรมชาติที่ทุกสรรพสิ่งจะต้องพึ่งพาอาศัยและสร้างกระบวนการที่สืบเนื่องเพื่อรักษาความเป็นไปของชีวิต ดังนั้นหน่วยชีวิตหรือสมาชิกในองค์กรนั้น จะเป็นองค์ประกอบหลักที่ก่อให้เกิดความเป็นเครือข่าย
2.  จุดมุ่งหมาย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เพราะหากว่าบุคคล กลุ่ม องค์กร มารวมกันเพียงเพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไร้ความมุ่งมั่นหรือจุดมุ่งหมายร่วมกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าวมิอาจกล่าวได้ว่าเป็นเครือข่าย เพราะความเป็นเครือข่ายจะต้องมีความหมายถึง “การร่วมกันอย่างมีจุดหมาย” เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์และกระบวนการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้น
3.  การทำหน้าที่อย่างมีจิตสำนึก การที่แต่ละหน่วยชีวิตหรือการที่แต่ละบุคคลจะมารวมกันนั้น สิ่งที่จะยึดโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน คือ การทำหน้าที่ต่อกัน และกระทำอย่างมีจิตสำนึก เพราะหากขาดจิตสำนึกต่อส่วนรวมแล้ว กระบวนการนั้นจะเป็นเพียงการจัดตั้งและเรียกร้องหาผลประโยชน์ตอบแทนเท่านั้น และการที่คนจะมารวมกลุ่มเป็นองค์กรเครือข่ายได้นั้น นอกจากจะมีความสนใจหรืออุปนิสัยใจคอที่คล้ายคลึงกันแล้ว บุคคลยังต้องมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม กล่าวคือ เมื่อพวกเขาเห็นปัญหาหรือต้องการที่จะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จิตใจที่มุ่งมั่นซึ่งเป็นปัจจัยภายในของแต่ละบุคคล ย่อมเป็นแรงขับเคลื่อนที่นำไปสู่การคิดวิเคราะห์และการค้นหาวิธี เพื่อแก้ไขปัญหานั้นๆ รวมทั้งแสวงหาแนวร่วมจากเพื่อนร่วมอุดมการณ์ เพื่อสร้างพลังอำนาจในการต่อรองหรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จนกลายเป็นองค์กรเครือข่ายที่ทุกฝ่ายต่างก็มีความ
ไว้วางใจต่อกัน ทั้งนี้ เพราะความเป็นเครือข่ายนั้น สามารถที่จะตอบสนองกระบวนการแก้ไขปัญหาได้มากกว่า

4.  การมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยน ในองค์ประกอบของความเป็นเครือข่าย
สิ่งหนึ่งที่จะขาดมิได้ก็คือการมีส่วนร่วม การพึ่งพาอาศัยและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกจะเป็นปัจจัยที่หนุนเสริมให้เครือข่ายนั้นมีพลังมากขึ้น เพราะการมีส่วนร่วมจะทำให้สมาชิกมีความรู้สึกว่า ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย ซึ่งจะช่วยให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันและพึ่งพากันมากขึ้น นอกจากนี้ ในระบบความสัมพันธ์ของเครือข่าย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะนำไปสู่การให้และการรับ รวมถึงการระดมทรัพยากรเพื่อให้ภารกิจที่เครือข่ายดำเนินการร่วมกันนั้นบรรลุถึงเป้าหมาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงเป็นทั้งแนวคิด กระบวนการและวิธีการของการจัดการเครือข่าย เป็นกระบวนการสร้างข้อมูลที่ต่อเนื่อง เพราะถ้าไม่มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันที่มาจากการมีส่วนร่วมแล้ว พัฒนาการของเครือข่ายจะเป็นไปอย่างช้าๆ และอาจถดถอยลง ดังนั้น การมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนจึงเสมือนกลไกที่เป็นแรงผลักให้ความเป็นเครือข่ายดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
5.  ระบบความสัมพันธ์และการสื่อสาร ถ้ากล่าวถึงเครือข่ายว่าเป็นความสัมพันธ์
ที่โยงใยแล้ว สิ่งที่มีความสำคัญต่อเครือข่าย คือ ข้อมูลและการสื่อสารระหว่างกัน นับตั้งแต่การสื่อสารระหว่างปัจเจกบุคคลกับปัจเจกบุคคล กลุ่มกับกลุ่ม และระหว่างเครือข่ายกับเครือข่าย รวมทั้งระบบความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยกระบวนการสื่อสารนั้นจะช่วยให้สมาชิกในเครือข่ายเกิดการรับรู้ เกิดการยอมรับในกระบวนการทำงานและช่วยรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ความสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดต่อสื่อสารที่ต่อเนื่องเช่นนี้ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเครือข่าย ถ้าระบบความสัมพันธ์มิได้รับการตอบสนองหรือขาดการติดต่อแล้ว ความเป็นเครือข่ายก็อยู่ในภาวะที่เสื่อมถอย ดังนั้น
การพัฒนาระบบเครือข่ายจะต้องยึดหลักการของความสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างกัน โดยมีกิจกรรมและข้อมูลเพื่อให้เกิดความเลื่อนไหลของเครือข่ายนั้นๆ


           ขอบคุณข้อมุลจาก: http://www.nesac.go.th/document/show11.php?did=06110001